วิถีฟรีแลนซ์มืออาชีพ ทำยังไงถึงจะอยู่รอด

มีคนมาปรึกษาการเป็นฟรีแลนซ์อยู่บ่อยๆ

เป็นฟรีแลนซ์ต้องรับงานมาทำแบบไม่ต้องปวดหัวต้องทำยังไง

และทำยังไงให้มีงานต่อเนื่องเป็น 10 ปี

ผมก็เลยอยากเอาโน้ตที่ผมเตรียมไว้ให้ นักเรียนของผมมาแบ่งปันครับ เผื่ออาจจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับคนที่อยากเลือกเดินทางในวิถีของฟรีแลนซ์ครับ

จะทำอาชีพรับทำเว็บจริงจังเราจะมี 2 ทางเลือก คือ

  1. ทำตัวเองให้เก่งสุดๆ ทำได้ทุกอย่าง
  2. สโคปตัวเองให้ชัดว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ แล้วเลือกรับงานเฉพาะที่เราทำได้อย่างเดียว

(ยกเว้นว่าเราจะมีทีมงาน ให้ทีมงานไปฝึกฝนให้เก่ง ส่วนเรามีหน้าทีโน้มน้าวเจรจาปิดการขาย แต่ให้ทีมงานเป็นคนลงมือทำ)

*ผมเลือกแนวทางที่ 2 ครับ

ให้เจาะกลุ่มลูกค้า ระดับกลางพอแล้ว

  • พวกธุรกิจขายส่ง (ทำเว็บเป็นแค่แคทตาล็อค แต่ปิดการขายทาง line)
  • สินค้าราคาสูง
  • ธุรกิจบริการ
  • กลุ่มตัวแทนประกัน
  • นายหน้าอสังหา

ขีดเส้นตัวเองให้ชัดว่าอะไรที่เราทำได้ อะไรที่เราทำไม่ได้ และจะเลือกจับลูกค้ากลุ่มไหน

ถ้าอะไรทำไม่ได้ หรือทำแล้วเสียหาย แนะนำให้เขาไปทำกับเจ้าอื่นจะสะดวกกว่า เป็นการลดความเสี่ยงในเรื่องที่เราทำไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดีด้วย ถ้าทำแล้วทำไม่ดี จะโดนลูกค้ากลับมาด่า หนักกว่าตอนปฎิเสธอีก

เว็บอีคอมเมิสเต็มรูปแบบแนะนำว่าให้ปฏิเสธ

ถ้าจะทำเว็บอีคอมเมิส ต้องทำแบบไม่ซับซ้อนใช้เฉพาะฟังชั่นตัวฟรีที่มากับ WooCommerce เท่านั้น ให้เราสร้างเว็บเดโม เป็นตัวอย่างให้ลูกค้าดูเลยว่า เราทำได้แค่นี้

เพราะตอนใช้งานจริง มันจะติดขัด ไหนจะแจ้งเตือนอีเมล แจ้งเตือนชำระเงิน ตั้งค่าจัดส่ง ติดตามการจัดส่ง ระบบสมาชิก ระบบสะสมคะแนนอีกเพียบเลย ทำเว็บเสร็จต้องสอนลูกค้าใช้งานอีก ทำเว็บอีคอมเมิสเต็มรูปแบบม้นจึงมีรายละเอียดที่เราต้องทำเยอะมาก

ผมจะสโคปงานตัวเองให้แคบที่สุด จะไม่รับสอน หรือรับทำอะไรนอกเหนือจากที่เคยทำบ่อยๆ (แต่ผมจะมีทีมงานอยู่ 2 คน งานซับซ้อน ผมจะถามทีมงานผมว่าจะทำมั้ย ถ้าทำก็จะปล่อยให้เขาไปค้นหา หาวิธีทำเอง ผมจะไม่เข้าไปทดลองหรือทดสอบให้)

ลองจินตนการดูถ้าเรามีลูกค้าหลายพันคน แล้วต้องทำตามความต้องการแต่ละคน เราจะรับมือไม่ไหว สุดท้ายเราจะเปลี่ยนอาชีพ

ต้องบังคับให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้เครื่องมือต่างๆ ตามเราเท่านั้น โฮสธีม ปลั๊กอินต่างๆ ต้องตามเราเท่านั้น ต้องบังคับเลย ถ้าลูกค้าไม่เปลี่ยน คือ ไม่รับทำ

เพราะลูกค้ามีความต้องการไม่สิ้นสุด ถ้าเราทำตามที่ลูกค้าต้องการทุกอย่าง เราจะปวดหัว ปิดงานไม่ได้

แต่ละงาน ถ้าเราปรับตามที่ลูกค้าต้องการ เราก็ต้องเรียนรู้ปลั๊กอินใหม่ๆ ตลอด (ถ้าเรามีเวลาหรืออยากเก่ง ก็ทำได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะวาง positionตัวเองไว้ระดับไหน)

แต่ผมวาง position ตัวเองทำเว็บระดับอนุบาล แล้วไปลุยด้าน SEO ให้ลูกค้าแทน เพราะสิ่งที่ทำให้เว็บลูกค้ามันได้ยอดขาย คือ การทำ seo และยิ่งเว็บทำระบบซับซ้อน ใช้ปลั๊กอินที่เราไม่คุ้นเคย เราต้องคอยดูแลเว็บเหล่านั้นอีก

เพราะ WordPress เขาต้องอัพเดทเวอร์ชั่นไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด พวกธีมและปลั๊กอินต่างๆ ก็ต้องอัพเดทตามไปด้วย สุดท้าย ถ้ามีอะไรติดขัด เราจะช่วยลูกค้าไม่ได้ ถ้าเว็บเขาพัง หรือใช้งานไม่ได้

เพราะถ้าระบบมันเคยใช้ได้ แล้วเว็บเขากำลังดัง คนเข้าเว็บเยอะ มีออเดอร์กำลังไหล ถ้ามันพังเราต้องแก้ไขให้เขาได้ทันที ลูกค้าบางคนเขาก็ยิง ads หนักมาก ถ้าเว็บพังคือจบเลย เราโดนด่าเละ

อะไรที่นอกเหนือจากที่เราทำได้ เราทำเป็นเงื่อนไขแจ้งให้เขารับรู้แต่แรก ถ้าเขาอยากทำ เราให้ได้แค่คำแนะนำ แล้วปล่อยเขาไปทำเอง

ต้องมีเว็บเดโม รูปแบบต่างๆ ให้ลูกค้าดูว่าเราทำเว็บได้ประมาณไหน

  • เว็บธุรกิจบริการ
  • เว็บร้านค้าปลีก
  • เว็บขายส่ง
  • เว็บตัวแทนนายหน้า
  • เว็บอสังหา
  • เว็บ 2 ภาษา

ทำเป็นตัวอย่างบน subdomain เก็บไว้ ลูกค้าสนใจก็ให้เขาไปกดเล่นเอง

ลูกค้าผมส่วนมากเขาอยากได้คำแนะนำด้าน seo มากกว่า เราก็สอนเขาไปแค่นั้น ก็เข้าทางเลย แล้วพอเราสอนๆ ไปก็เป็นการโน้มน้าวเขาไปในตัว ว่าเว็บอย่าไปทำอะไรซับซ้อน ทำเรียบๆ เข้าไว้จะได้ไม่มีปัญหา ดูแลง่าย

ถ้าจะเรียนรู้เพิ่มเติม ให้ศึกษาเรื่อง seo ให้เข้าใจแจ่มแจ้งดีกว่า ผู้ประกอบการชอบฟังสิ่งที่จะทำให้เขาสร้างยอดขาย

วิถีฟรีแลนซ์แบบฉบับของพัดวี ก็จะมีประมาณนี้ครับ