โดเมน ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่เจ้าของเว็บไซต์ไม่ควรมองข้ามเพราะจุดประสงค์ของการมีโดเมนคือ เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนหน้าบ้าน โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นเพื่อต้องการจะขายสินค้าหรือบริการ การได้ชื่อเฉพาะเจาะจงและตรงกับกลุ่มเป้าหมายจะทำให้โดเมนหรือเว็บไซต์นั้นได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำ
ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้ที่ผ่านมาให้ความสนใจหรือกลุ่มเป้าหมายที่คลิกเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ผ่านโดเมน แต่ยังหมายรวมถึง Search Engine เช่น google ที่จะเข้ามาทำ index กับเว็บเพจต่างๆ ในหน้าเว็บไซต์ของเราด้วย
โดเมน คืออะไร
โดเมน หรือโดเมนเนม (Domain name) หากจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ ชื่อเว็บไซต์ เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เช่น www.padveewebschool.com (padveewebschool.com คือชื่อโดเมน) โดเมนเนม ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อใช้แทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) ซึ่ง IP จะมีตัวเลขถึง 16 หลัก ทำให้เกิดความยุ่งยากและเราไม่สามารถจดจำตัวเลขได้ทั้ง 16 หลักเวลาจะนำไปในระบบอินเทอร์เน็ต
ซึ่งการมีชื่อโดเมนจะช่วยทำให้ผู้คนจดจำเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้นและการตั้งชื่อยังสามารถสื่อความหมายได้ทั้งจุดประสงค์ เนื้อหา หรือความเป็นตัวตนของเจ้าของเว็บไซต์เองโดยแต่ละเว็บไซต์จะมีชื่อไม่ซ้ำกัน
ประเภทของโดเมน
โดยหลักๆ แล้วโดเมนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. โดเมน 2 ระดับ ประกอบด้วย ชื่อโดเมน และ ประเภทของโดเมน
ประเภทขององค์กรที่พบมีดังนี้
- .info คือ องค์กรที่ให้รายละเอียดข้อมูล
- .net คือ กลุ่มเครือข่ายธุรกิจหรือองค์กร
- .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
- .com คือ องค์กรพาณิชย์ บริษัท เว็บไซต์ส่วนตัว
- .mil คือ องค์กรทางทหาร
- .edu คือ สถาบันการศึกษา
2. โดเมน 3 ระดับ ประกอบด้วย ชื่อโดเมน ประเภทของโดเมน และ ชื่อประเทศ
ประเภทขององค์กรที่พบมีดังนี้
- .th คือ บุคคลทั่วไปและหน่วยงานทุกประเภท
- .co.th คือ องค์กรพาณิชย์ หรือ บริษัท เป็นแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย
- .th คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
- .th คือ สถาบันการศึกษา
- .th คือ องค์กรของรัฐบาล
หลักการตั้งชื่อโดเมน
ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ดังนั้นโดเมนก็มีหลักการตั้งชื่อเช่นกันสำหรับผู้ที่กำลังสนใจทำเว็บไซต์หรือกำลังคิดอยู่ว่าเว็บไซต์ของเราควรชื่ออะไรดีสามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้กับการตั้งชื่อได้ง่ายๆ ดังนี้
- จดจำง่าย สะกดง่าย เพราะบางครั้งเว็บไซต์อาจมาจากการบอกต่อหรือตามป้ายโฆษณาถ้าโดเมนจดจำง่ายจะช่วยให้ผู้ที่สนใจเข้าชมเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง
- ชื่อควรสั้นได้ใจความเพื่อป้องกันการสับสนและง่ายต่อการจำชื่อเว็บไซต์ที่ยากๆ
- หากต้องการตั้งชื่อยาวก็สามารถทำได้เช่นกันแต่ควรเป็นชื่อที่จำง่าย มีความหมายตรงตัว
- การใช้ภาษาอังกฤษทั้งตัวใหญ่หรือตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
- ความยาวของชื่อโดเมนต้องไม่เกิน 63 ตัวอักษร
- หน้าชื่อโดเมนห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-)
- ชื่อโดเมนที่มีการเติม S หรือไม่เติม S บางครั้งผู้ใช้อาจสับสนเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดควรจดทะเบียนไว้ทั้งสองแบบ
- ตัวอักษรพิเศษที่ไม่สามารถใช้จดทะเบียน ได้แก่ ! @ # $ % ^ & ฿ * ( ) + | / < > , ‘ ? \” [ ] { } _
- สามารถใช้ตัวเลข 0-9 ในชื่อโดเมนได้
- สามารถใช้ตัวเลขผสมกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือเครื่องหมายขีดได้
ขั้นตอนการจดโดเมนต้องทำอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนที่จะนำเสนอเป็นขั้นตอนอย่างง่ายสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาการจดชื่อโดเมนโดยสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้เพื่อการจดชื่อในอนาคตได้ ขั้นตอนมีดังนี้
- เลือกบริษัทหรือผู้ให้บริการรับจดโดเมน ถ้ายังไม่มีในใจก็สามารถโดยสามารถค้นหาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต
- ทำการเช็คชื่อโดเมนของคุณว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่หากซ้ำต้องเปลี่ยนใหม่
- เลือกจำนวนปีที่ต้องการจดโดเมนเพื่อดูว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไร
- กรอกรายละเอียดต่างๆ
- กดสั่งซื้อได้ทันที
ชื่อโดเมนกับความสำคัญของเว็บไซต์
หากคุณคิดว่าชื่อโดเมนไม่สำคัญละก็ เราต้องขอบอกเลยว่าคุณคิดผิดอย่างมากเพราะแท้จริงแล้วชื่อโดเมนมีความสำคัญกับเว็บไซต์เป็นยิ่ง ดังนี้
- สำหรับคนทำเว็บไซต์หากต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาเป็นอันดับแรกๆ จะเลือกการทำ SEO เพื่อเข้ามาช่วยให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก เพราะฉะนั้นแล้วการตั้งชื่อให้ง่ายต่อการจดจำจะช่วยเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น
- การตั้งชื่อที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์จะทำให้มีลูกค้าหรือผู้ชมเข้าเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผลกับ Search Engine (SEO)
ทำไมจึงควรมีโดเมนเป็นของตนเอง
1. ควบคุมและจัดเก็บข้อมูลได้เป็นระบบ
ตัวอย่างที่จะทำให้เห็นภาพง่ายๆ คือ หากพนักงานบริษัทลาออกถ้าพนักงานใช้เมลที่เป็นโดเมนของบริษัทควบคุม บริษัทจะสามารถดึงข้อมูลต่างๆ กลับมาได้ ในทางกลับกันถ้าพนักงานใช่เมลส่วนตัวบริษัทจะไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันข้อมูลบริษัทจึงควรจดโดเมนให้เรียบร้อย
2. เพิ่มความปลอดภัย
ในการจดทะเบียนโดเมนจะมีหน่วยงานคอยตรวจสอบและรับรอง เมื่อบริษัทได้รับการจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้วก็เหมือนมีนามสกุลติดตัว ดังนั้นไม่ว่าใครหรือหน่วยงานไหนก็ไม่สามารถแอบอ้างมาในองค์กรได้
3. แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ
การมีโดเมนเป็นชื่อของบริษัท และ @ อีเมลบริษัทสื่อถึงความมีระบบ ระเบียบ ความสนใจ ซึ่งเมื่อบุคคลหรือลูกค้าเข้ามาติดต่อกับบริษัทเห็นว่าเรามีการทำเว็บไซต์ มีการใช้อีเมลบริษัทสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความเป็นมืออาชีพให้อยากร่วมงานกันมากขึ้น
4. ช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือ
การจดโดเมนต้องมีการตรวจสอบและการดำเนินงานต่างๆ เป็นขั้นตอนที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นหากบริษัทมีการใช้อีเมลที่มีโดเมนบริษัทเมื่อผู้รับอีเมลได้ไปนั้นก็สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทมีความน่าเชื่อถือและช่วยเสริมภาพลักษณ์ได้อีกด้วย
5. ระบุตัวตนของบุคคลได้
หากพนักงานบริษัทใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงานผู้รับจะไม่สามารถระบุได้เลยว่าเป็นของบริษัท หรือองค์กรใด แอบอ้างหรือไม่ ดังนั้นการมีอีเมลโดเมนจะทำให้สามารถควบคุมและระบุตัวตนพนักงานได้
สรุป
การจะทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จสิ่งที่เป็นหัวใจหลักและผู้ทำเว็บไซต์ควรให้ความสำคัญคือ โดเมน หรือโดเมนเนม เพราะชื่อมีส่วนที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการนำเสนอเว็บไซต์ไปถึงเกิดความสนใจและอยากเข้าชมเว็บไซต์ของเรามากขึ้น ยิ่งถ้าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับการขายสินค้าการตั้งชื่อโดเมนให้มีเอกลักษณ์และสามารถบ่งชี้ได้ว่าต้องการจะสื่อสารหรือขายสินค้าใดก็จะยิ่งเพิ่มความหน้าจดจำให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าชื่อโดเมนไม่ควรตั้งแบบขอไปทีเพราะการจดชื่อแต่ละครั้งมีราคาที่ต้องจ่ายไม่ได้ให้จดกันแบบฟรีๆ นะคะ