Voice search เทรนด์การค้นหาข้อมูลในอนาคตของ Search engine

Voice search คือ

Voice search หากพูดถึงการค้นหาด้วยเสียงผู้ใช้งานในไทยอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ฟังก์ชันนี้เท่าไหร่นักเพราะส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับการค้นหา Keyword ด้วยการพิมพ์ซะมากกว่า

สำหรับคำสั่งเสียงไม่ใช่ฟังก์ชันใหม่แต่มีใช้งานมานานแล้วซึ่งปัจจุบันด้วยความเร่งรีบใช้ชีวิตแข่งกับเวลาและการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงการซื้อของออนไลน์สามารถทำงานได้ง่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ การค้นหาด้วยเสียงจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะถ้าหากต้องมานั่งพิมพ์ข้อความ 20-30 คำ คงจะเสียเวลาไปไม่น้อย Voice search จึงก้าวขึ้นมาเป็นส่วนที่สำคัญของ Search engine

Voice search คือ

Voice search คือ วิธีการค้นหาข้อมูลด้วยการพูดหรือใช้คำสั่งเสียงในบน Search engine เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยส่วนมากการใช้คำสั่งเสียงจะเน้นไปที่การค้นหาคำที่ยาวมากๆ หรือเป็นคำถามที่อยู่ในรูปแบบของโยคยาวๆ เพราะการที่จะมานั่งพิมพ์ข้อความก็อาจไม่ทันสำหรับการค้นหาข้อมูล

อีกทั้งบางครั้งเราอาจติดภาระกิจอื่นที่ไม่อาจพิมพ์เป็นข้อความได้ การใช้คำสั่งเสียงสามารถช่วยอำนวยความสะดวกได้เช่นกัน อีกทั้งงานวิจัยยังระบุว่าการใช้คำสั่งเสียงจะมีความเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียนซึ่งการเขียนมักจะใช้คำที่เป็นแบบทางการมากกว่า

การใช้เทคโนโลยี Voice search

การใช้คำสั่งเสียงในการค้นหาสามารถทำได้ง่ายมากและไม่ยุ่งยากซับซ้อนเพราะปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีฟังก์ชันนี้อยู่ในตัวอยู่แล้ว การใช้ Voice search มีขั้นตอนหลักเพียง 4 ข้อ ดังนี้

  1. ต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรองรับฟังก์ชันคำสั่งงานด้วยเสียงได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ
    แท็บเลต เป็นต้น
  2. สำหรับคำพูดที่ใช้เปิดฟังก์ชันคำสั่งเสียงที่มักจะได้ยินบ่อยๆ เช่น Hey google หรือ Hey Siri
  3. ประโยคหรือคำสั่งทิ้งท้ายที่จำเป็นต้องพูดเสมอ เช่น สั่งซื้อ เพื่อให้กระบวนการคำสั่งเสียงเสร็จสมบูรณ์
  4. จุดที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้คำสั่งเสียง คือ น้ำเสียงของผู้ใช้งานต้องคงที่เสมอเพราะ Voice Commerce จะจำน้ำเสียงของผู้ใช้เอาไว้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นมาแอบอ้าง

ผลของ Voice search ต่อเว็บไซต์

เพื่อที่จะยกระดับการทำ Digital Marketing นักการตลาดส่วนใหญ่เริ่มใช้คำสั่งการค้นหาด้วยเสียงกันมากขึ้น เพราะถือว่าการใช้ Voice search ส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อเว็บไซต์ ดังนี้

  • Paid Media เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ROI ให้ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้
  • SEO ช่วยเพิ่มโอกาสให้จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์สูงขึ้น และช่วยทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาอันดับต้นๆ ในระยะยาว
  • Content Marketing ช่วยทำให้คอนเทนต์หรือเว็บไซต์ติดอันดับการค้นหา และสร้าง Engagement ได้

Voice search กับการทำ SEO

อย่างที่เราทราบกันดีว่าการค้นหาข้อมูลบน Search engine สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ การพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา และการใช้คำสั่งเสียง หรือ Voice search นั้นเอง

แน่นอนว่าหากเราต้องการค้นหาแบบรวดเร็วและใช้คำแบบไม่เป็นทางการมากนักการค้นหาด้วยเสียงดูจะเป็นทางเลือกที่ดีและเป็นธรรมชาติมากกว่า เช่น

  • การค้นหาด้วยเสียง : บอกชื่อตลาดนัดที่กำลังเปิดอยู่ตอนนี้ให้หน่อย
  • การค้นหาด้วยการพิมพ์ : ตลาดนัด ใกล้ฉัน

จากตัวอย่างการค้นหาด้านบนเราจะพบว่าการใช้คำค้นหาด้วยเสียงจะดูเป็นธรรมชาติ เป็น Long-Tail Keyword ที่ Search engine สามารถวิเคราะห์และเข้าใจคำที่มีความซับซ้อนได้ง่าย

ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มควรพัฒนาระบบการค้นหาด้วยเสียงให้มีความเข้าใจมนุษย์มากขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน และหากเจ้าของเว็บไซต์สามารถทำ SEO ให้ตอบโจทย์การค้นหาด้วยเสียงนอกจากการทำ SEO แบบปกตินั้นเท่ากับว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสการค้นหาให้ติดอันดับและเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้อีกด้วย

เทคนิคการทำ SEO Voice search

  1. ทำคอนเทนต์ให้เป็นภาษาพูด : ให้เน้นไปที่ภาษาที่ไม่เป็นทางการนักคล้ายๆ กับบทสนทนาที่ใช้ในชีวิตประจำวันแต่ควรคำนึงถึงความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของคำที่ใช้ เพื่อให้คอนเทนต์ติดอันดับ SEO Voice Search
  2. ปรับปรุงข้อมูลบน Google My Business อยู่เสมอ : Google My Business เป็นเหมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ของเรามากขึ้น ดังนั้นควรเข้าไปปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องกับปัจจุบันที่สุด เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้มากขึ้น
  3. พัฒนาเว็บไซต์ให้สามารถใช้งานได้บนมือถือ : การออกแบบเว็บไซต์ควรออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานบนมือถือได้เพราะปัจจุบันผู้คนมักค้นหาด้วยเสียงบนมือถือ หากสามารถออกแบบให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้นั้นเท่ากับว่าสามารถมอบประสบการณ์ใช้งานเชิงบวกให้ลูกค้าได้เช่นกัน
  4. ปรับปรุงข้อมูลสถานที่ตั้งของธุรกิจให้ถูกต้อง : ลูกค้าหรือกลุ่มผู้ใช้งานส่วนมากนิยมใช้ Voice Search ในการค้นหาสถานที่ตั้งร้าน วิธีการเดินทาง ดังนั้นเจ้าของเว็บไซต์ควรปรับปรุงข้อมูลที่ตั้งร้านให้ถูกต้องอยู่เสมอเพื่อป้องกันการปักหมุดผิดพลาด สำหรับคำที่มักใช้ค้นหา เช่น เบอร์โทรศัพท์ การเดินทาง เวลาเปิด-ปิด เป็นต้น

ข้อเสียของ Voice search

  1. ความเป็นส่วนตัว : เนื่องจาก Voice Search ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยอาจยังไม่ค่อยหนาแน่น
  2. ภาษา : Voice Search ส่วนมากยังเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานแต่ไม่เก่งทางด้านภาเท่าไหร่นัก
  3. สำเนียง : ระบบ AI ยังต้องได้รับการพัฒนาอีกมากเนื่องจากภาษาพูดของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันบางครั้งเกินกว่าที่ปัญญาประดิษฐ์จะเข้าใจได้จึงเป็นเรื่องยากและท้าทายที่จะทำให้การค้นหาด้วยเสียงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปทั้งหมดเกี่ยวกับ Voice search

Voice search ถือเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาช่วยเติมเต็มในการปรับปรุงคอนเทนต์ต่างๆ บนเว็บไซต์ให้พัฒนาไปอีกหนึ่งขั้นซึ่งหากผู้ทำเว็บไซต์สามารถปรับและเลือก Keyword ให้ตอบโจทย์ Voice search ก็จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ ได้ง่ายขึ้น สำหรับนักการตลาดควรที่จะเรียนรู้และเริ่มนำมาปรับใช้ด้วยกระแสของตลาด E-commerce ที่ร้อนแรงและเพิ่มขึ้นทุกวัน เชื่อแน่ว่าผู้บริโภคจะใช้การค้นหาด้วยเสียงมากขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้ทำธุรกิจออนไลน์ควรเพิ่มการค้นหาด้วยเสียงด้วยการเลือก Keyword
ที่ค้นหาด้วยเสียงให้มากขึ้น