– H1 ต้องมีแค่ครั้งเดียว วางอยู่ช่วงบนๆ ของหน้าเว็บ แต่ไม่จำเป็นต้องวางไว้บนสุดก็ได้
– เขียน H1 ให้เด่นแค่ประเด่นเดียว อย่าให้มี keyword หน้าอื่นๆ มารบกวน
– สูตรการเขียน H1 ก็คือ “Keyword+คำขยายความ” แค่นั้น เขียนให้เด่นเรื่องเดียว
– ต้องมีความหลากหลายของ Heading ไม่จำเป็นต้องมีครบ ทั้ง H1-H6 แต่ H1-H3 ต้องมี
– H2 ต้องมีอย่างน้อย 4 ครั้ง
– ต้องมี Focus Keyword อยู่บน H2 อย่างน้อย 1ครั้ง
– H3 ต้องมีอย่างน้อย 1 ครั้ง
– มีคำที่เกี่ยวข้อง ปะปนอยู่บนบาง Heading ด้วย
– หัวข้อที่ไม่สำคัญในเนื้อหา หรือเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Keyword เช่น พวกคำว่า คำถามที่ผมบ่อย, รีวิวจากลูกค้า, บทความล่าสุด ฯลฯ
หัวข้อเหล่านี้เราต้องลดความสำคัญลง ให้ใช้เป็น H4 ไปเลย
– แต่แน่นอนแม้ว่าคุณจะใช้ H4 ต้องคำนึงถึงความสวยงามที่หน้าเว็บด้วย ถ้าดูที่หน้าเว็บแล้วตัวอักษรมันเล็กไป ให้เพิ่ม pt หรือขนาดความใหญ่ของตัวอักษรด้วย
– ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ Heading เช่น H1 ต้องไป H2, H2 ต้องไป H3, มี h3 แล้วจะกลับมา H2 อีกไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็น
– เราใส่ Heading เพื่อแบ่งหัวข้อให้ชัดเจน ทำให้เนื้อหาดูอ่านง่ายเป็นหลัก มี H3 กลับไป H2 ได้ ไม่ใช่ปัญหา
– Google ไม่ได้ดูแค่โครงสร้างของ Heading ที่เป็น Code HTML เพียงอย่างเดียว แต่ Google ดูระดับความใหญ่ของ Heading ที่มองเห็นด้วยตา ที่ปรากฏบนหน้าเว็บด้วย
– ดังนั้น จุดไหนที่เป็น H1 ต้องมีขนาดตัวอักษรใหญ่ที่สุด, H2 ต้องมีขนาดรองลงมา อย่าทำให้ Heading ตัวอื่นๆ ใหญ่เท่า H1, H3 ก็ต้องเล็กกว่า H2, H4 ก็ต้องดูด้วยสายตาแล้วรู้สึกว่าเล็กกว่า H3
– อย่าใช้ Heading เขียนเป็นย่อหน้ายาวๆ Heading ถูกสร้างมาเพื่อให้เขียนหัวข้อ ดังนั้นมันต้องไม่ยาวเกิน 1 บรรทัด ถ้าเกิน 1 บรรทัดมันคือย่อหน้า
สุดท้าย เราอย่าไปยึดติดมาก โฟกัสแค่ H1 เป็นหลัก ส่วนการวาง Heading เราใส่เพื่อทำให้เนื้อหาของเราอ่านง่ายเป็นหลักครับ
.
.
สนใจศึกษาความรู้ด้าน SEO เพิ่มเติมอ่านต่อที่ลิงก์นี้ได้เลยครับ
https://padveewebschool.com/learn-seo-free/